5 เรื่องต้องรู้ จับตาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับกระแสมาแรงของ "ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน"

  • ข่าวประชาสัมพันธ์ /
  • 284 /
  • 20 พฤษภาคม 2565

ผลสำรวจการเดินทางอย่างยั่งยืนประจำปี 2565 ของ Booking.com รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากความคิดเห็นของผู้เดินทางกว่า 30,000 คน ใน 32 ประเทศ เผยให้เห็นว่านักท่องเที่ยวในยุคหลังวิกฤตโรคระบาดคลี่คลาย มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากทริปของพวกเขามาเป็นอันดับแรก

"ตัวเลือกการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน" จะขยับขึ้นมาเป็นที่สนใจ พร้อมกับความตระหนักต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นที่มีเพิ่มมากขึ้น "ความยั่งยืน" ในที่นี้จะครอบคลุมตั้งแต่การวางแผน เลือกที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว วิธีการเดินทาง รวมถึงกิจกรรมที่ทำ สะท้อนว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกำลังเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง พวกเขากำลังมองหารูปแบบการท่องเที่ยวรูปแบบใด และมีความคาดหวังต่อทริปให้อนาคตอย่างไรบ้าง มาดูกัน

1.ตามหาที่พักรักษ์โลก
จากรายงานพบว่า 95% ของนักเดินทางมีความตั้งใจจะใช้บริการที่พักรักษ์โลกหรือกลุ่ม "โรงแรมสีเขีย" อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีหน้า ด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1) ความต้องการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง 2) ความต้องการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน และ 3) ความเชื่อที่ว่าที่พักกลุ่มดังกล่าวจะสามารถดูแลผู้คนและชุมชนได้ดีกว่า ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกเพราะได้ทำสิ่งดี ๆ เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม

2. เปิดใจท่องเที่ยวเมืองรอง
นักเดินทาง 35% จะเปลี่ยนไปท่องเที่ยวเมืองรองก่อนในอันดับต้น ๆ เมื่อมีการเปิดประเทศ เนื่องจากพวกเขามองว่าการเปลี่ยนจากเที่ยวเมืองหลักมาสู่เมืองรอง จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนในมิติการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ท้องถิ่น

3. หลีกเลี่ยง High Season
ช่วง High Season มักมีนักท่องเที่ยวหนาแน่น ยิ่งมีจำนวนคนมากก็มักทำให้การบริหารจัดการอย่างยืนทำได้ยากมากขึ้น และที่สำคัญทำให้ความรู้สึกอยากท่องเที่ยวลดลงอีกด้วย นักเดินทางในยุคหลังโรคระบาดจึงมีแนวโน้มจะหลีกเลี่ยงเดินทางในฤดูกาลท่องเที่ยว โดย 46% กล่าวว่าในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปท่องเที่ยวนอกฤดูกาลแทน

4. สัมผัสวิถีชีวิตชุมชน
โรคระบาดส่งผลให้ผู้คนโหยหาการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น จากรายงานพบว่า 79% ของแผนการท่องเที่ยวในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน โดยมองว่าการลงไปใกล้ชิดกับความเป็นชุมชนช่วยสร้างความยั่งยืนผ่านการอนุรักษ์และนำพารายได้เข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งทำให้เหล่านักเดินทางกว่า 38% ยินดีที่จะใช้จ่ายอย่างเต็มที่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน หากมั่นใจว่าชุมชนจะได้รับผลตอนแทน

5. เปลี่ยนแปลงวิธีการเดินทาง
การปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศจะเป็นเกณฑ์พิจารณาตัวเลือกการเดินทาง นักเดินทางจะลดปริมาณการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงลง โดย 43% มองว่าการเปลี่ยนวิธีเดินทาง คือ ‘หัวใจของความยั่งยืน" มีนักเดินทางกว่า 54% ตอบว่ารู้สึกละอาย หากวิธีการเดินทางปล่อยมลพิษมากเกินไป เช่น การเดินทางโดยเครื่องบิน หรือรถยนต์หลายคัน นอกจากนี้ กว่า 22% จะตัดสินใจออกเดินทางระยะใกล้มากขึ้นหรือใช้ขนส่งสาธารณะในการเดินทางระยะไกล เนื่องจากใช้เชื้อเพลิงและปล่อยมลพิษน้อยกว่า

พฤติกรรมของนักเดินทางที่เปลี่ยนไปพร้อมกับเทรนด์ "การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" ที่กำลังมาแรง จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางการทำงานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง หาคำตอบกับบทความฉบับเต็มได้ที่ (https://bit.ly/3NA4B89)



ที่มา: https://www.facebook.com/photo?fbid=388394536648785&set=a.312259834262256

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่),
The official website of Tourism Authority of Thailand
02-250-5500 ext. 2935-8 | [email protected]
2021 Research Unit for Energy Economic and Ecological Management,
Multidisciplinary Research Institute : MDRI, Chiang Mai University.